เปรียบเทียบกลไกลระบายความร้อน
𝐒𝐨𝐥𝐚𝐫 𝐀𝐭𝐭𝐢𝐜 กับ ลูกหมุน
เปรียบเทียบกลไกเครื่องเร่งระบายความร้อนระหว่าง #ระบบระบายความร้อนใต้หลังคา 𝐒𝐨𝐥𝐚𝐫 𝐀𝐭𝐭𝐢𝐜 และลูกหมุนระบายอากาศ
.
เชื่อว่าหลายคนที่กำลังมองหาตัวช่วยระบายความร้อนภายในบ้านคงสงสัยว่าระหว่าง 𝐒𝐨𝐥𝐚𝐫 𝐀𝐭𝐭𝐢𝐜 และลูกหมุนระบายอากาศ มีกลไกการทำงาน และข้อดี-ข้อเสียต่างกันอย่างไร? วันนี้ 𝗚𝗼𝗼𝗱𝘁𝗲𝗰𝗵 สรุปมาให้แล้ว
.
❄️เปลี่ยนบ้านร้อนระอุเป็นบ้านเย็น อยู่สบายทุกฤดูด้วย 𝐒𝐨𝐥𝐚𝐫 𝐀𝐭𝐭𝐢𝐜
ช่วยเร่งระบายความร้อนสะสมใต้โถงหลังคา ทำให้อากาศภายในบ้านเย็นลง 2-5 องศา
#ระบบระบายความร้อนใต้หลังคา 𝐒𝐨𝐥𝐚𝐫 𝐀𝐭𝐭𝐢𝐜 มีกลไกการทำงาน คือ ช่วยระบายความร้อนสะสมใต้โถงหลังคาด้วยพัดลมระบายความร้อน (เติมเข้า / ดูดออก) ซึ่งพัดลมตัวนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ จึงช่วยประหยัดค่าไฟฟ้า และทำให้อากาศภายในบ้านเย็นลง 2-5 องศา
.
ข้อดี:
✅ทำงานได้ตลอดเวลา ไม่ต้องอาศัยพลังงานลมเหมือนกับลูกหมุนระบายอากาศ จีงช่วยระบายความร้อนภายในบ้านได้ตลอดวัน
✅ช่วยทำให้อุณหภูมิภายใต้พื้นที่หลังคาลดลง 10-15 องศา
✅ช่วยทำให้แอร์ไม่ทำงานหนัก ทำให้อากาศเย็นเร็วขึ้น และช่วยลดค่าไฟฟ้า
✅ช่วยลดการสะสมความชื้นและการเจริญเติบโตของเชื้อโรค
✅ติดตั้งกับบ้านได้ทุกรูปแบบโดยไม่ต้องเจาะหลังคา จึงไม่ก่อให้เกิดปัญหาหลังคารั่วซึมในอนาคต
✅ปลอดภัยด้วยระบบไฟกระแสตรง (DC)
✅ใช้เวลาในการติดตั้งเพียง 1 วัน*
.
ข้อจำกัด:
⛔️ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งค่อนข้างสูง
⛔️ไม่สามารถติดตั้งภายในหอพักหรือคอนโดได้
.
*ระยะเวลาการติดตั้งอาจมีการเปลี่ยนแปลงขึ้นอยู่กับพื้นที่และรูปแบบของบ้าน
ลูกหมุนระบายอากาศมีกลไกการทำงาน คือ เมื่อมีอากาศพัดผ่านบนหลังคาหรืออากาศร้อนใต้หลังคาลอยตัวสูงขึ้น อากาศที่ลอยตัวขึ้นไปจะทำให้ลูกหมุนเกิดการหมุนตัว แรงหมุนของลูกหมุนจะช่วยระบายความร้อนใต้หลังคาให้ออกไปภายนอก แต่ไม่ได้ทำให้อากาศภายในบ้านหรืออาคารเย็นขึ้นมากนัก เพียงแต่มีช่องว่างในการระบายอากาศเพิ่มขึ้น แต่ถ้าฝนตกหนักๆ ก็อาจมีน้ำฝนรั่วเข้ามาได้
.
ข้อดี:
✅ไม่ต้องใช้ไฟฟ้า ประหยัดพลังงาน
✅ไม่ส่งเสียงดังรบกวน
✅ค่าดูแลรักษาต่ำ
.
ข้อจำกัด:
⛔️ถ้าอาคารมีฝ้ากั้น หรือมีสิ่งกีดขวางลมจากด้านล่างสู่ด้านบน จะทำให้ลูกหมุนไม่สามารถระบายอากาศได้
⛔️ในช่วงฤดูฝน น้ำฝนสามารถสาดลงไปในฝ้าได้ จึงอาจทำให้เกิดการสะสมความชื้นและปัญหาเชื้อรา
⛔เมื่อติดตั้งต้องเจาะหลังคา มีความเสี่ยงเกิดปัญหาหลังคารั่วซึมในอนาคต
⛔️หากไม่มีลม ลูกหมุนจะหยุดค้าง และไม่สามารถระบายอากาศได้
⛔️ไม่สามารถติดตั้งภายในหอพักหรือคอนโดได้
ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ >>> https://www.goodtechthai.com/research